ภาวะมีบุตรยาก ปัญหาชวนปวดใจของคนอยากมีลูก

ปัญหาการมีลูกยากเป็นหนึ่งในปัญหาที่คู่รักหลายคู่หนักใจ เพราะพยายามเท่าไรก็ไม่สำเร็จสักที ซึ่งมักมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นการเข้าใจเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากและเข้ามารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านภาวะมีบุตรยากโดยเร็วที่สุด ย่อมช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสประสบความสำเร็จกับการตั้งครรภ์ได้ในอนาคต

ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ ขั้นแรกรังไข่ต้องมีการตกไข่ เมื่อไข่ตกออกมาจากรังไข่ ไข่จะเดินทางเข้าสู่ท่อนำไข่ด้านเดียวกับรังไข่ การปฏิสนธิจะเกิดในท่อนำไข่นี้ โดยที่อสุจิต้องเดินทางผ่านช่องคลอดเข้าไปในมดลูกและเข้าไปผสมกับไข่ในท่อนําไข่ จากนั้นไข่ที่ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนจะเดินทางจากท่อนําไข่ไปยังมดลูกและฝังตัวในเยื่อบุมดลูกและพัฒนาเป็นทารกต่อไป หากมีปัญหาเกิดขึ้นไม่ว่าจะขั้นตอนใดในกระบวนการนี้จะนําไปสู่ภาวะมีบุตรยากภาวะมีบุตรยากคือการที่ผู้หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากพยายามมีบุตรโดยการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลา 1 ปี แต่หากมีอายุ 35 ปีขึ้นไปอาจจะถือว่ามีภาวะมีบุตรยาก หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนแล้วไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ โดยพบว่าอย่างน้อย 15 % ของคู่สมรสมีปัญหาในการตั้งครรภ์ ต้นเหตุภาวะมีบุตรยาก สาเหตุของภาวะมีบุตรยากแบ่งเป็น 5 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1) ปัญหาการตกไข่พบประมาณ 25% ของคู่สมรสที่มีบุตรยาก การประเมินการตกไข่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง โดยใช้ชุดทดสอบการตกไข่ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา หลักการคือตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่ามีฮอร์โมนไข่ตก ออกมาในปัสสาวะหรือไม่ โดยมักจะตรวจพบฮอร์โมน LH สูงขึ้น ประมาณ 24 – 36 ชั่วโมงก่อนไข่ตก จึงสามารถทำนายช่วงระยะเวลาที่ไข่จะตกได้และควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ แต่การตรวจวิธีนี้ก็ยังมีปัญหาเรื่องผลลบลวงอยู่พอสมควร หมายความว่า แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนไข่ตก แต่อาจตรวจไม่ตรงเวลาหรือแถบตรวจแสดงผลเป็นลบหรือบวกอ่อน ๆ ทำให้ยากต่อการตัดสินใจ

Scroll to Top