ท่าตัววี เพิ่มความแข็งแรงหน้าท้องส่วนล่าง

คุณคงเคยเห็นหนุ่มๆในฟิตเนส ที่มีหน้าท้องร่องคล้ายตัววีเหนือเชิงกรานอันเซ็กซี่ แล้วคุณรู้สึกอิจฉาอยากมีบ้างหรือไม่ ตอนนี้หน้าท้องของคุณยังห้อยย้วยอยู่หรือเปล่า หากเป็นเช่นนั้นไม่ต้องกังวลไป เพียงแค่เริ่มตั้งใจออกกำลังกายหน้าท้องและลดไขมันอย่างถูกวิธี คุณก็สามารถมีหน้าท้องแบบนั้นได้เช่นเดียวกัน พันธุกรรมก็มีผลที่เอื้อต่อการมีหน้าท้องที่สวยงามแตกต่างกันไป

ออกเน้นหน้าท้องส่วนล่างด้วยการออกกำลังกายหลายๆ แบบ. Rectus abdominis (กล้ามเนื้อซิกแพ็ก) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวตั้งแต่ส่วนล่างของหน้าอกยาวไปถึงเชิงกราน[1] โดยหลายการออกกำลังกายมักเน้นในส่วนบนและส่วนกลาง อย่างเช่น sit-up และ crunches เพื่อให้แข็งแรง หากต้องการให้แข็งแรงเพียงพอจนเกิดรูปตัววี วิธีที่ดีที่สุดคือควรออกกำลังให้ถึงกล้ามเนื้อส่วนล่างด้วยอย่างเป็นประจำ โดยการออกกำลังเน้นหน้าท้องส่วนล่างนั้นจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงทั้งบริเวณนั้นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางของร่างกายรวมถึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดหลังด้วย โดยการออกกำลังหน้าท้องส่วนล่างที่จะช่วยให้มีร่องตัววีนั้นมีดังต่อไปนี้ ยกขาสองข้างขึ้น. ท่านี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหน้าท้องส่วนล่างโดยการเน้นออกแรงกล้ามเนื้อหน้าท้องในการยกสะโพกและขาขึ้นให้พ้นพื้นในแนวตั้งฉาก เริ่มจาก นอนหงายบนเสื่อหรือเบาะที่นิ่มกำลังดี ฝ่ามือสองข้างกดกับเบาะทางด้านข้างลำตัว ยกขาสองข้างขึ้นพ้นเบาะ เหยียดขาขึ้นตรงหาเพดาน ให้ลำตัวเป็นรูปตัว L เน้นออกแรงที่หน้าท้องส่วนล่าง ยกสะโพกขึ้นจากเบาะช้าๆ ขาเหยียดตรงค้างไว้สักครู่แล้วปล่อยสะโพกลงกลับที่เดิม ทำช้าๆ ควบคุมให้ได้ตลอด ไม่ทำแบบเหวี่ยงขึ้นเร็วๆ ทำซ้ำ จนรู้สึกเมื่อยล้าหรือ 15 ครั้ง 4 เซต เพิ่มความยากด้วยการยกแขนขึ้นสูงสองข้างแล้วค้างไว้พ้นพื้น หรือยกสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ โหนตัวยกขาสองข้าง. ท่านี้เป็นท่าที่ใช้พลังมากโดยการใช้บาร์ดึงข้อ นอกจากจะช่วยสร้างหน้าท้องส่วนล่างแล้วยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในมือ เริ่มจากโหนบาร์ดึงข้อ หรือ บาร์ตั้งขนานพื้น โดยใช้มือสองข้างจับให้ห่างปานกลาง ลำตัวตรง สะโพกแอ่นไปด้านหลังเล็กน้อย ยกขาสองข้างขึ้น เข่างอจนกระทั่งมุมต้นขากับลำตัวเท่ากับ 90 องศา (เป็นรูปตัว L) ค้างไว้สักครู่แล้วค่อยๆ ปล่อยขาลงกลับท่าปกติ
หลีกเลี่ยงการบิดตัว เหวี่ยงขาขึ้น หรือแกว่งเท้าขณะทำ เนื่องจากท่าที่ไม่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ทำซ้ำจนรู้สึกเมื่อยล้า หรือ 10-20 ครั้ง ทำซ้ำ 3-4 เซต หากต้องการให้ง่ายขึ้น อาจออกแบบให้มีที่วางแขน หรือหากต้องการให้ยากขึ้น อาจใช้การถ่วงน้ำหนักที่ข้อเท้า แต่ควรระมัดระวังหากทำให้ยากขึ้น เนื่องจากน้ำหนักที่มากเกินไปทำให้เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นได้

Scroll to Top